วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562

ประวัติความเป็นมาของอาหารเหนือ

         ภาคเหนือ เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งในอดีตเป็นดิดแดนแห่งประวัติศาสตร์ศิลปะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น และคนเหนือมีเชื้อสายไทยใหญ หน้าตา ผิวพรรณ จึงต่างไปจากภาคอื่น ๆประกอบความอ่อนหวานซื่อบริสุทธิ์ทำให้คนเหนือมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดการรับประทานอาหารของคนภาค เหนือนั้น จะใช้โก๊ะข้าวหรือที่เรียกว่าขันโตก แทนโต๊ะอาหารโดยสมาชิกในบ้านจะนั่งล้อมวงกัน
        ลักษณะนิสัยที่ค่อนข้างเยือกเย็น สุขุมและสุภาพเรียบร้อย นับเป็นสิ่งที่สะท้อนออกมาให้เห็นถึง อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของคนภาคเหนือไม่ว่าจะเป็นข้างเหนียวซึ่งเป็นอาหารหลัก น้ำพริกอ่อง ซึ่งดูจะไม่เผ็ดมากนัก ตลอดจนกรรมวิธีถนอมอาหารอันแยบยล ที่ออกมาในรูปแบบของ แหนม หมูยอ แคบหมู และที่เป็นพิเศษจริงๆคือ อาหารจำพวกของสด เช่น ลาบสดที่ดูเหมือนจะเป็น มรดกทางวัฒนธรรมทาง อาหารของต้นตระกูลไทยที่แท้จริง รวมถึงอาหารที่ได้รับอิทธิพลจาก ชาติต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง อาทิ แกงฮังเลที่ได้รับอิทธิพลจากพม่า ข้าวซอยที่ได้รับอิทธิพลจาก จีนฮ่อ นอกจากนั้นแนวทางการรับประทานอาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือยังออกมาในรูปแบบ ของขันโตก ซึ่งประกกอบด้วยอาหารหลายๆอย่างในหนึ่งสำรับ เช่น น้ำพริกอ่อง แคบหมู แกง ฮังเล ลาบ ข้าวเหนียว ไก่ชิ้นทอด โดยเฉพาะมีการประยุกต์อาหารขันโตก
         คนไทยที่อยู่ทางภาคเหนือนิยมรับประทานอาหารรสกลางๆ มีรสเค็มนำเล็กน้อย รสเปรี้ยวและหวานมีน้อยมาก หรือแทบไม่นิยมเลย เนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทาน ได้แก่ เนื้อหมู เพราะหาได้ง่าย ราคาไม่แพง และมีขายทั่วไปในท้องตลาด เนื้อสัตว์อื่นที่นิยมรองลงมา คือ เนื้อวัว ไก่ เป็ด นก ฯลฯ สำหรับอาหารทะเลนิยมน้อยเพราะราคาแพง เนื่องจากอยู่ห่างไกลทะเล
         สูตรอาหาร เมนูพื้นบ้าน ภาคเหนือ สูตรอาหารไทย ของชาวคนภาคเหนือ  อาหารล้านนา อาหารพื้นบ้าน ที่มีความหลากหลาย ต้ม ผัด แกง ทอด ปิ้งย่าง นึ่ง อาหารเหนือมีอะไรบ้าง หากอยากกินอาหารเหนือ อาหารล้านนา ลักษณะเด่นของอาหารเหนือ คือ อาหารภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานของอาหารจะได้จากส่วนผสมที่นำมาทำอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ผัก ปลา ไขมันจะได้จากน้ำมันของสัตว์ เป็นต้น

ภายในบล๊อคนี้จะแนะนำอาหารที่เป็นน้ำพริกที่ขึ้นชื่อของทางภาคเหนือ ซึ่งรสชาติผู้อ่านสามารถเปลี่ยนแปลงตามใจตามใจชอบ.











(หมายเหตุ : บล๊อคนี้ใช้ในการเรียนการสอนวิชา MK326 Eletronic Marketing มหาวิทยาลัยพายัพ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น